Sunday, December 10, 2006

Wide Area Network : ( WAN )

เครือข่าย WAN เป็นเครือข่ายเชื่อมโยงกันในระยะทางที่ห่างไกล อาจจะเป็นหลาย ๆ กิโลเมตร ดังนั้นความเร็วในการเชื่อมโยงระหว่างกันอาจไม่สูงมากนัก เพราะระยะทางไกลทำให้มีสัญญาณรบกวนได้สูง ความเร็วจึงอยู่ในระดับช่วง 9.6-64 Kbps และ 1.5-2 Mbps ขึ้นอยู่กับแอพพลิเคชั่นและขนาดของข้อมูล


ทั้งเครือข่ายแบบ LAN และ WAN ล้วนแล้วแต่ใช้หลักการของแพ็กเก็ตสวิตชิ่ง กล่าวคือ มีการกำหนดวิธีการรับส่งข้อมูลเป็นแพ็กเก็ต โดยให้แต่ละอุปกรณ์มีแอดเดรสประจำ วิธีการรับส่งมีได้หลากหลาย เราเรียกวิธีการว่า "โปรโตคอล (Protocol)" ดังนั้นจึงมีมาตรฐานการเชื่อมโยงระยะไกลมีการกำหนด แอดเดรส เช่นในเครือข่าย X.25 ข้อมูลจากที่หนึ่งส่งเป็นแพ็กเก็ตส่งต่อไปยังปลายทางได้
ข้อมูลเป็นแพ็กเก็ตจากจุดเริ่มต้น มีแอดเดรสกำกับตำแหน่งปลายทางและตำแหน่งต้นทางแอดเดรส เหล่านี้เป็นรหัสที่รับรู้ได้ อุปกรณ์สวิตช์จะเลือกทางส่งไปให้ หากมีปัญหาใดทำให้ปลายทางรับได้ไม่ถูกต้อง เช่นมีสัญญาณรบกวน ระบบจะมีการเรียกร้องให้ส่งให้ใหม่เพื่อว่าการรับส่งข้อมูลจะต้องถูกต้องเสมอ ระบบการโต้ตอบเหล่านี้จึงเป็นมาตรฐานที่กำหนดของเครือข่ายนั้น ๆ

PUBLIC WAN

ดังนั้น เครือข่าย WAN จึงเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างองค์กร ระหว่างเมือง หรือระหว่างประเทศ และเพื่อให้การใช้งานมีประสิทธิภาพจึงมีองค์กรกลางหรือผู้ให้บริการเครือข่ายสาธารณะเข้ามาช่วยจัดการเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย เช่น เครือข่ายสาธารณะที่ใช้ร่วมกันของทศท. และกสท. หรือ เครือข่ายบริการ เช่น ดาต้าเนต เป็นต้น
เครือข่ายในปัจจุบันมีการเชื่อมเครือข่าย LAN หลาย ๆ เครือข่ายย่อยเข้าด้วยกัน จะเป็นอีเทอร์เน็ต หรือโทเก็นริงก็ได้ แล้วยังเชื่อมต่อออกจากองค์กรผ่านเครือข่าย WAN ทำให้เครือข่ายทั้งหมดเชื่อมโยงถึงกัน จึงมีการพัฒนาเทคโนโลยีเครือข่ายให้มีความเร็วสูงในการรับส่งข้อมูล ซึ่งเครือข่าย WAN ที่ใช้ตัวกลางเป็นเส้นใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) สามารถส่งรับข้อมูลได้เร็วไม่น้อยกว่าเครือข่าย LAN การพัฒนาเทคโนโลยีบนถนนเครือข่าย LAN และ WAN จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และเป็นโครงสร้างพื้นฐานของการพัฒนาประเทศ ซึ่งจะไปได้ไกลเพียงใด ขึ้นอยู่กับโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ของประเทศ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็เป็นโครงสร้างพื้นฐานหนึ่งที่ต้องพัฒนาไปด้วย
คำว่า Information Super Highway ก็คือถนนเครือข่าย WAN ที่เชื่อม LAN ทุกเครือข่ายเข้าด้วยกันนั่นเอง




ระบบเครือข่ายแบบ WAN
ประเภทของเครือข่ายระยะไกล
เครือข่าย สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
เครือข่ายส่วนตัว (Private Network)
เป็นการจัดตั้งระบบเครือข่ายซึ่งมีการใช้งานเฉพาะองค์การที่เป็นเจ้าของเครือข่ายอยู่ เช่น องค์การที่มีสาขาอาจทำการสร้างระบบเครือข่าย เพื่อเชื่อมต่อระหว่างสำนักงานใหญ่กับสาขาที่มีอยู่ เป็นต้น อย่างไรก็ดี ในระดับกายภาพ (Physical Layer) ของการเชื่อมต่อแบบเครือข่ายส่วนตัวจะยังคงต้องใช้ช่องทางการสื่อสารข้อมูลสาธารณะ เช่น สายโทรศัพท์ สายเช่า ดาวเทียม เป็นต้น
การจัดตั้งระบบเครือข่ายส่วนตัวมีจุดเด่นในเรื่องของการรักษาความลับของข้อมูล สามารถควบคุมดูแลเครือจ่ายและขยายเครือข่ายไปยังจุดที่ต้องการ ส่วยจ้อเสียคือในกรณีที่ได้ได้มีการส่งข้อมูลต่อเนื่องตลอดเวลา จะเสียค่าใช้จ่ายสูงมากเมื่อเทียบกับการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายสาธารณะและหากมีการส่งข้อมูลระหว่างสาขาต่าง ๆ จะต้องมีการจัดหาช่องทางสื่อสารเชื่อมโยงระหว่างแต่ละสาขาด้วย รวมทั้งอาจไม่สามาถจัดหาช่องทางการสื่อสารไปยังพื้นที่ที่ต้องการได้
เครือข่ายสาธารณะ (Public Data Network)
เครือข่ายสาธารณะ (PDNs) หรือที่บางครั้งเรียกว่า เครือข่ายมูลค่าเพิ่ม (Value Assed) เป็นระบบเครือข่ายระยะไกล (WAN) ซึ่งองค์กรที่ได้รับสัมปทานทำการจัดตั้งขึ้น เพื่อให้บุคคลทั่วไปหรือองค์กรอื่น ๆ ที่ไม่ต้องการวางเครือข่ายเองสามารถแบ่งกันเช่าใช้งานได้ โดยการจัดตั้งอาจทำการวางโครงข่ายช่องทางการสื่อสารเอง หรือเช่าใช้ช่องทางการสื่อสารสาธารณะก็ได้ ระบบเครือข่ายสาธารณะ จะนิยมใช้ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายแบบ WAN กันมาก เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการจัดตั้งเครือข่ายส่วนตัว สามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาในการจัดตั้งเครือข่ายใหม่ รวมทั้งมีบริการให้เลือกอย่างหลาย ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปทั้งในส่วนของราคา ความเร็ว ขอบเขตพื้นที่บริการ และความเหมาะสมกับงานแบบต่าง ๆ
เครือข่ายแบบสลับวงจร (Circuit-Switching Network)
เป็นบริการระบบเครือข่ายสาธารณะขั้นพื้นฐาน เช่น ระบบโทรศัพท์และระบบสายเช่า (leased line) ระบบเครือข่ายแบบสลับวงจรจะเป็นการเชื่อมต่อทางกายภาพของวงจรระหว่างจุด 2 จุด เพื่อให้สามารถติดต่อส่งข้อมูล (หรือเสียง) กัน โดยการเชื่อมวงจรอาจเชื่อมอยู่ตลอดเวลา เช่น สายเช่าหรือเชื่อมต่อเมื่อมีการติดต่อเช่าโทรศัพท์ก็ได้ รวมทั้งอาจเป็นเครือข่ายอนาลอก เช่น โทรศัพท์หรือเครือข่ายดิจิตอล เช่น ISDN ก็ได้
ระบบเครือข่ายแบบสลับวงจรจะเป็น การเชื่อมต่อระหว่างจุดต่อจุด (point-to-point) จึงมีข้อดีคือมีอัตราความเร็วในการสื่อสารที่คงที่ตลอดเวลา เนื่องจากไม่ต้องทำการแบ่งช่องทางกับผู้อื่น แต่จุดด้อยคือต้งมีการเชื่อต่อกันทุก ๆ จุดที่มีการติดต่อกัน
เครือข่ายแบบสลับแพคเกต (Packet Switching Data Network)
เป็นระบบเครือข่ายที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน มีการทำงานโดยใช้วิธีแบ่งข้อมูลที่ต้องการส่งระหว่างจุด 2 จุด ออกเป็น ชิ้น (packet) เล็ก ๆ เพื่อทำการส่งไปยังจุดหมายที่ต้องการ การเแบ่งข้อมูลออกเป็นแฟกเกตมีข้อดี คือ ทำให้สามารถใช้ช่องทางการสื่อสารข้อมูลเพียงช่องทางเดียวในการเชื่อมเข้าสู่เครือข่าย ไม่ว่าวจะมีการติดต่อกันระหว่างกี่จุดก็ตาม รวามทั้งสามารถส่งแต่ละแพกเกตด้วยเส้นทางต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกันเป็นตาข่าย และทำการรวมแต่ละแพคเกตกลับคือเมื่อถึงจุดหมายแล้ว จึงเป็นการใช้ทรัพยาการ (resource) ได้อย่างคุ้มค่าที่สุด
ISDN
บริการ Integrated Services Digital Network (ISDN) เป็นระบบเครือข่ายแบบดิจิตอลซึ่งสามารถทำการส่งได้ทั้งข้อมูล เสียง และภาพ อุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถเชื่อมเข้ากับ ISDN ได้โดยตรงผ่านทางตัวเชื่อมแบบดิจิตอล ทำให้ไม่จำเป็นต้องผ่านการแปลงระหว่างสัญญาณอนาลอกและดิจิตอลด้วยโมเด็มอีก อนกจากนี้แต่ละช่องทาง (channel) ของ ISDNยังมีความเร็วสูงถึง 64 Kbps
บริการของ ISDN จะสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
Narrow Band ISDN (ISDN-N) เป็นโครงข่ายที่พัฒนาเพิ่มเติมจากระบบโทรศัพท์เดิม โดยใช้สัญญาณดิจิตอลในการสื่อสารแทนการใช้สัญญาณอานลอกผ่านคู่สายที่มีอยู่เดิม สามารถแบ่งได้เป็น
Basic Rate Interface (BRI) เป็นการเชื่อมต่อขั้นพื้นฐานของ ISDN โดยภายในหนึ่งคู่สาย (หนือหนึ่งหมาย เลย โทรศัพท์) จะมีช่องสัญญาณอยู่ 3 ช่อง ประกอบด้วยช่องสัญญาณแบบ B (Bearer) ซึ่งสามารถส่งได้ทั้งข้อมูลและเสียงด้วยความเร็ว 64 ต่อช่อง จำนวน 2 ช่อง และช่องสัญญาณแบบ D (Data) ซึ่งใช้ควบคุมช่องสัญญาณแบบ B จะส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 16 Kbps จำนวน 1 ช่อง (2B+D)
Primary Rate Interface (PRI) จะเป็นการสื่อสารแบบความเร็วสูง โดยประกอบด้วย Bearer Channel จำนวน 23 ช่อง และ Data Channel ขนาดความเร็ว 64 Kbps อีก 1 ช่อง ทำให้ได้ความเร็วสูงถึง 1.544 Mbps มีใช้ในสหรัฐอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังมีมาตรฐานแบบ 30 Bearer บวกกับ 1 Data Channel สำหรับความเร็ว 2.048 Mpbs ซึ่งใช้กันในยุโรปและไทย
Broadband ISDN (ISDN-B) เป็นระบบ ISDN ที่ขยายขีดความสามารถโดยใช้โปรโตคอล ATM (Asynchronous Transfer Mode) ทำให้สามารถส่งสัญญาณได้ด้วยความเร็วตั้งแต่ 45 Mbps จนถึง 1 Gbps (Gigabit/Second) จึงสามารถใช้ในการส่งข้อมูลภาพและเสียงได้อย่างสมบูรณ์
ATM เครือข่ายแบบเอทีเอ็ม (Asynchronous Transfer Mode) เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่กำลังได้รับการสนฝจอย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีความสามารถในการรับรองการจัดหา bandwidth ทำให้เหมาะกับการใช้งานแอพพลิเคชั่นใหม่ ๆ เช่น multimedia ซึ่งต้องการทำการส่งผ่านข้อมูลจำนวนมากที่สัมพันธ์ รวมทั้งยังเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ได้ทั้ง LAN และ WAN อีกด้วย
เครือข่าย ATM สามารถใช้กับสายเคเบิลที่มีอยู่แล้วที่ไม่ใช่สาย Fiber ได้ โดยเพียงแต่เปลี่ยน adapter และ swiches ความเร็วจะอยู่ระหว่าง 25 ถึง 155 Mbps


ประโยชน์ของเครือข่ายระยะใกล้
ข้อดี
1. การแชร์ (Shares) หรือการใช้ทรัพยากรร่วมกัน
2. ประหยัดค่าใช้จ่ายทางด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ รวมถึงการติดตั้งและดูแลรักษา
3. สะดวกกับผู้ใช้งานสามารถเข้าสู่เครือข่ายได้ง่าย
4. ไม่มีปัญหาเรื่องไฟล์ข้อมูลสูญหาย
5. สามารถส่งข้อความตอบโต้กันระหว่างผู้ใช้ได้ง่ายด้วย E-mail
6. ผู้ใช้สามารถเลือกใช้ฮาร์ดแวร์คุณภาพดี ๆ ได้
7. ง่ายต่อการควบคุมระบบคอมพิวเตอร์
ข้อจำกัด
1. ราคาของซอฟต์แวร์ค่อนข้างสูง
2. ระบบรักษาความปลอดภัยยังไม่ดีพอ
3. สูญเสียความเป็นส่วนตัวเนื่องจากเป็นระบบแชร์กันใช้ไฟล์ข้อมูล

การทำงานบนเครือข่ายระยะไกล
วาสนา สุขกระสานติ (2540, หน้า 7-33) กล่าวไว้ว่า ระบบเครือข่าย WAN หรือระบบเครือข่ายระยะไกล จะเป็นระบบเครือข่ายที่เชื่อมโยงเครือข่ายแบบท้องถิ่นตั้งแต่ 2 เครือข่ายขึ้นไปเข้าด้วยกันผ่านทระยะทางที่ไกลมาก โดยการเชื่อมโยงจะผ่านช่องทางการสื่อสารข้อมูลสาธารณะของบริษัทโทรศัพท์ หรือองค์การโทรศัพท์ของประเทศต่าง ๆ เช่น สายโทรศัพท์แบบอนาล็อก สายแบบดิจิตอล ดาวเทียม ไมโครเวฟ
สุขุม เฉลยทรัพย์ จิตติมา เทียมบุญประเสริฐ และวิชชา ฉิมพลี (2542, หน้า 208) กล่าวไว้ว่า ระบบเครือข่ายระยะไกล เชื่อมต่อกันในระยะทางที่ไกลมาก ตั้งแต่ 10-100 กิโลเมตร เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้งานภายในและภายนอกองค์กร เป็นระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูงในการใช้งาน และใช้ในระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ราคาแพง และการพัฒนาต้องการบุคลากรเฉพาะด้าน
สาโรจน์ เกษมสุขโชติกุล (2545, หน้า 96) กล่าวไว้ว่า ระบบเครือข่ายระยะไกล เป็นเครือข่ายที่นำเอาคอมพิวเตอร์มาเชื่อต่อกันในระยะไกล หรือในพื้นที่ที่ห่างกันมาก ๆ เช่น ระหว่างเมือง ระหว่างประเทศ โดยสื่อกลางที่ใช้ในการเชื่อมเครือข่ายนั้นอาจเป็นได้ตั้งแต่สายโทรศัพท์ คลื่นไมโครเวฟ จนถึงการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม
วิเศษศักดิ์ โคตรอาษา เดชอนันต์ บุญพัน กฤษณา บุตรปาละ ขวัญใจ ดีจริง และเสรี หร่ายเจริญ (2542, หน้า 97-98) กล่าวไว้ว่า ระบบเครือข่ายระยะไกล หรือ Wide Area Network เป็นระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานอยู่ในบริเวณกว้าง โดยมีการส่งข้อมูลในลักษณะเป็นแพ็กเก็ต (Packet) ซึ่งต้องเดินทางจากเครื่องคอมพิวเตอร์ต้นทางไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง แพ็กเก็ตนี้ถูกส่งจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง โดยมีสายสื่อสารหรืออุปกรณ์สื่อสารอื่นในการเชื่อมต่อถึงกันในลักษณะเป็นลูกโซ่ หรือเป็นทอด ๆ อาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ระหว่างทางแต่ละตัวจะรับข้อความนั้นเก็บจำเอาไว้ และส่งต่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ถัดไปในเส้นทางที่สะดวก
ยืน ภู่วรวรรณ (2548, หน้า 1) กล่าวไว้ว่า เครือข่าย WAN เป็นเครือข่ายเชื่อมโยงกันในระยะทางที่ห่างไกล อาจจะเป็นหลาย ๆ กิโลเมตร ดังนั้นความเร็วในการเชื่อมโยงระหว่างกันอาจไม่สูงมากนัก เพราะระยะทางไกลทำให้มีสัญญาณรบกวนได้สูง ความเร็วจึงอยู่ในระดับช่วง 9.6-64 Kbps และ 1.5- 2 Mbps ขึ้นอยู่กับแอพพลิเคชั่นและขนาดของข้อมูล


ทั้งเครือข่ายแบบ LAN และ WAN ล้วนแล้วแต่ใช้หลักการของแพ็กเก็ตสวิตชิ่ง กล่าวคือ มีการกำหนดวิธีการรับส่งข้อมูลเป็นแพ็กเก็ต โดยให้แต่ละอุปกรณ์มีแอดเดรสประจำ วิธีการรับส่งมีได้หลากหลาย เราเรียกวิธีการว่า "โปรโตคอล (Protocol)" ดังนั้นจึงมีมาตรฐานการเชื่อมโยงระยะไกลมีการกำหนดแอดเดรส เช่นในเครือข่าย X.25 ข้อมูลจากที่หนึ่งส่งเป็นแพ็กเก็ตส่งต่อไปยังปลายทางได้ ข้อมูลเป็นแพ็กเก็ตจากจุดเริ่มต้น มีแอดเดรสกำกับตำแหน่งปลายทางและตำแหน่งต้นทาง แอดเดรสเหล่านี้เป็นรหัสที่รับรู้ได้ อุปกรณ์สวิตช์จะเลือกทางส่งไปให้ หากมีปัญหาใดทำให้ปลายทางรับได้ไม่ถูกต้อง เช่นมีสัญญาณรบกวน ระบบจะมีการเรียกร้องให้ส่งให้ใหม่เพื่อว่าการรับส่งข้อมูลจะต้องถูกต้องเสมอ ระบบการโต้ตอบเหล่านี้จึงเป็นมาตรฐานที่กำหนดของเครือข่ายนั้น ๆ
สรุปได้ว่า เครือข่ายระยะไกล หมายถึง การเชื่อมเครือข่ายระยะใกล้ตั้งแต่ 2 เครือข่ายขึ้นไปเข้าด้วยกัน ผ่านระยะทางที่ไกลมาก โดยการเชื่อมโยงจะผ่านช่องทางอุปกรณ์การสื่อสารประเภทต่าง ๆ เช่น สายเคเบิล สายใยแก้วนำแสง สัญญาณดาวเทียม คลื่นไมโครเวฟ เพื่อให้สามารถทำการติดต่อสื่อสารข้อมูลได้


ข้อเสีย หากโหนดใดโหนดหนึ่งเกิดปัญหาขึ้นจะค้นหาได้ยากว่าต้นเหตุอยู่ที่ไหน และวงแหวนจะขาดออก


แบบ Star ระบบนี้จะมีเครื่องที่มีความสามารถสูง หรือที่เรียกกันว่า เซ็นทรัลโหนด (Central node) อยู่ตรงกลางเป็นตัวเชื่อมระบบ และจัดการในการสื่อสารข้อมูลต่างๆ ของระบบ และจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานร่วมกันในระบบอยู่รอบๆ ข้อดี ติดตั้งและดูแลง่าย แม้ว่าสายที่เชื่อมต่อไปยังบางโหนดจะขาด โหนดที่เหลืออยู่ก็ยังจะสามารถทำงานได้ ทำให้ระบบเน็ตเวิร์กยังคงสามารถทำงานได้เป็นปกติ การมี Central node อยู่ตรงกลางเป็นตัวเชื่อมระบบ ถ้าระบบเกิดทำงานบกพร่องเสียหาย ทำให้เรารู้ได้ทันทีว่าจะไปแก้ปัญหาที่ใด ข้อเสีย เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น Central node และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายเคเบิลในสถานีงาน การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะการขยายแต่ละครั้งจะต้องเกี่ยวเนื่องกับโหนดอื่นๆ ทั้งระบบ
การแบ่งตามลักษณะการทำงาน
1. แบบ peer to peer เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะสามารถแบ่งทรัพยากรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์หรือเครื่องพิมพ์ซึ่งกันและกันภายใน Network เครื่องแต่ละเครื่องจะทำงานในลักษณะทีทัดเทียมกัน การเชื่อมต่อแบบนี้มักทำในระบบที่มีขนาดเล็กๆ เช่น หน่วยงานขนาดเล็กที่มีเครื่องทีทำการเชื่อมต่อกันประมาณไม่เกิน 10 เครื่อง เครือข่ายประเภทนี้สามารถจัดตั้งได้ง่ายๆ ด้วยซอฟแวร์ธรรมดาๆ เช่น Windows 95 และ 98 โดยคอมพิวเตอร์ในระบบจะสามารถเป็นได้ทั้งเครื่องลูกข่าย (Client หรือ Work Station) และเครื่องผู้ให้บริการ (Server) โดยขึ้นอยู่กับว่าขณะใดขณะหนึ่งเครื่องไหนเป็นผู้ร้องขอทรัพยากรหรือว่าเป็นผู้แบ่งปันทรัพยากร
2. แบบ client-server เป็นระบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งเป็นอย่างน้อย ซึ่งเครื่องที่เชื่อมต่อด้วยนี้จะมีขนาดใหญ ่และมีโปรเซสเซอร์ตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไป ซึ่งอาจเป็นไปได้ทั้งเครื่องในระดับ Pentium หรือ RISC(Reduced Instruction Set Computing เช่น DEC Alpha AXP) แล้วก็ใช้ระบบปฏิบัติการที่เป็นเครือข่าย (NOS หรือ Network Operating System) โดยเฉพาะ เช่น Windows NT Server ซึ่งจะมีประสิทธิภาพสูงกว่า Windows95 และ 98 อีกทั้งยังได้รับการออกแบบและปรับแต่งมา เพื่อการทำงานในระบบสภาวะแวดล้อมแบบเน็ตเวิร์กโดยเฉพาะอีกด้วย หน้าที่ของเครื่องแม่ข่ายได้แก่ การควบคุมความปลอดภัยในระบบจัดการความคับคั่งในระบบเครือข่ายหยิบยื่นทรัพยากรต่างๆ เช่น ข้อมูล โปรแกรม หรือการขอใช้อุปกรณ์ร่วมต่างๆ ตามแต่เครื่องลูกข่ายจะร้องขอ สำหรับเครื่องลูกข่ายจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ซึ่งก็จะใช้ OS ธรรมดา เช่น Windows 95/98 , windows NT Workstation ซึ่งเครื่องลูกข่ายเหล่านี้โดยปกติจะใช้ความสามารถด้านการประมวลผลของตัวเอง เพื่อจัดการกับข้อมูลที่ได้รับมาจาก Sserver หลักการ client-server จะมีความยืดหยุ่นสูง เพราะนอกเหนือจากการเชื่อมต่อเข้าด้วยกันตามปกติแล้ว ยังสามารถเลือกที่จะเชื่อมต่อทั้งระบบเข้ากับเครื่องในระดับ minicomputer หรือ mainframe ได้อีกด้วย โดยเครื่องที่ทำหน้าที่ลูกข่ายจะยังคงสามารถใช้งานในสภาวะแวดล้อมและโปรแกรมที่เราคุ้นเคยได้ดี ในขณะที่ผู้ใช้งานสามารถเลือกทำงานได้ทั้งงานในรูปแบบเครื่องเดี่ยว (stand alone) หรือแบบที่ประสานงานกับผู้ใช้รายอื่น


เครือข่ายคืออะไร
เครือข่าย หรือที่มักเรียกกันติดปากว่า เน็ตเวิร์ก (Network) ก็คือกลุ่มของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกันเพื่อให้ผู้ใช้ในเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนไฟล์และใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในเครือข่ายได้
ขนาดของเครือข่าย
เครือข่ายมีตั้งแต่ขนาดเล็กที่เชื่อมต่อกันด้วยคอมพิวเตอร์เพียงสองสามเครื่อง เพื่อใช้งานในบ้านหรือบริษัทเล็กๆ ไปจนถึงเครือข่ายระดับโลกที่ครอบคลุมไปเกือบทุกประเทศ
เครือข่ายสามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นล้านๆ เครื่องจากทั่วโลกเข้าด้วยกัน สำหรับเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลกปัจจุบันนี้ก็คือ เครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ล็อกออน
ก่อนที่ผู้ใช้จะใช้เครือข่ายได้นั้น ผู้ใช้จะต้องป้อนชื่อบัญชีผู้ใช้พร้อมกับรหัสผ่านลงไป เพื่อให้คอมพิวเตอร์ตรวจสอบว่าผู้ใช้คนนั้นมีสิทธิในการใช้เครือข่ายเสียก่อน ถ้าทุกอย่างถูกต้อง ผู้ใช้คนนั้นถึงจะสามารถใช้เครือข่ายได้ ขั้นตอนนี้เราเรียกว่า ล็อกออน (Log on) หรือ ล็อกอิน (Log in)
ขั้นตอนการล็อกออนนี้เป็นส่วนหนึ่งของระบบรักษาความปลอดภัยของเครือข่าย เพื่อเป็นการป้องกันคนอื่นที่ไม่มีสิทธิเข้ามาใช้เครือข่ายโดยไม่ได้ รับอนุญาติ ดังนั้นผู้ใช้แต่ละคนควรจะเก็บรหัสผ่านของตัวเองไว้เป็นความลับ
รูปแบบการใช้เครือข่าย
ใช้ฟลอบปีดิสก์เป็นสื่อกลางก่อนที่จะมีเครือข่ายนั้น การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ใช้จะใช้การก๊อบปี้ข้อมูลลงแผ่นฟลอปปี้ดิสก์ จากเครื่องหนึ่งไปใช้อีกเครื่องหนึ่งซึ่งเป็นวิธีที่ช้า ยุ่งยาก และน่าเบื่อโดยเฉพาะกรณีที่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันบ่อยๆ ปัจจุบันแม้ว่าเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะได้รับความนิยมและมีราคาไม่แพง แต่ก็ยังมีองค์กรจำนวนไม่น้อยที่ใช้คอมพิวเตอร์แยกกันโดดๆ โดยไม่มีการเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายแล้วใช้ฟลอปปี้ดิสก์ เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล
เครือข่ายที่เชื่อมต่อแบบถาวร
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในองค์กรเกือบทั้งหมดจะมีการเชื่อมต่อตลอดเวลา ถ้าผู้ใช้ต้องการใช้เครือข่ายเมื่อใดก็สามารถใช้ได้ทันที สำหรับการเชื่อมต่อนั้นมักจะใช้สายเคเบิลรูปแบบต่างๆ เป็นสื่อกลาง เพราะมีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลสูงและมีราคาไม่แพงนัก
การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบชั่วคราว
เป็นการเชื่อมต่อกับเครือข่ายบางช่วงเวลาเท่านั้นคือเมื่อต้องการใช้ก็เชื่อมต่อเข้าไป เมื่อใช้เสร็จก็ตัดการเชื่อมต่อ ส่วนใหญ่การใช้เครือข่ายนี้มักจะเป็นผู้ใช้อยู่นอกพื้นที่องค์กร เช่น อยู่ที่บ้าน หรืออยู่ภาคสนาม แล้วต้องการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กร โดยใช้โมเด็มหมุนสัญญาณผ่านสายโทรศัพท์เข้าไปเชื่อมต่อกับเครือข่ายหลักในองค์กร
ข้อดีของการใช้เครือข่าย
การแลกเปลี่ยนข้อมูลทำได้ง่าย
การแลกเปลี่ยนข้อมูลในที่นี้ หมายถึง การที่ผู้ใช้ในเครือข่ายสามารถที่จะดึงข้อมูลจากส่วนกลาง หรือข้อมูลจากผู้ใช้คนอื่นมาใช้ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายเหมือนกับการดึงข้อมูลมาใช้จากเครื่องของตัวเอง และนอกจากจะดึงไฟล์ข้อมูลมาใช้แล้ว ผู้ใช้ก็ยังสามารถก๊อบปี้ไฟล์ไปให้ผู้ใช้คนอื่นได้อีกด้วย
ใช้ทรัพยากรร่วมกันได้
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายนั้น ถือว่าเป็นทรัพยากรส่วนกลางที่ผู้ใช้ในเครือข่ายทุกคนสามารถใช้ได้โดยการสั่งงานจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเองผ่านเครือข่ายไปยังอุปกรณ์นั้น เช่น มีเครื่องพิมพ์ส่วนกลางในเครือข่าย ผู้ใช้ทุกคนสามารถสั่งพิมพ์งานไปยังเครื่องพิมพ์ตัวนี้ได้ เป็นต้น ซึ่งคุณสมบัติข้อนี้ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายเพราะไม่ต้องซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์หลายๆ ตัว
ใช้โปรแกรมร่วมกัน
ผู้ใช้ในเครือข่ายสามารถที่จะรันโปรแกรมจากเครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ส่วนกลาง เช่น โปรแกรมเวิร์ด สเปรดชีต หรือดาต้าเบสได้ โดยไม่จำเป็นจะต้องจัดซื้อโปรแกรมทุกชุดสำหรับคอมพิวเตอร์ แต่ละเครื่อง และนอกจากจะประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อโปรแกรมแล้ว ยังประหยัดพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ในการเก็บไฟล์โปรแกรมของแต่ละเครื่องอีกด้วย
ทำงานประสานกันเป็นอย่างดี
ก่อนที่เครือข่ายคอมพิวเตอร์จะเป็นที่นิยมใช้องค์กรส่วนใหญ่จะใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ราคาแพงเพียงเครื่องเดียว เช่น มินิคอมพิวเตอร์หรือเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ในการจัดการงานข้อมูลทุกอย่างในองค์กร แต่ในปัจจุบันองค์กรจำนวนมากใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในการจัดการงานเหล่านั้น เพราะใช้งานง่าย ราคาไม่แพงและสามารถรองรับงานธุรกิจได้เกือบทุกแบบ
ตัวอย่างเช่น การใช้เครือข่ายในการจัดการระบบงานขาย โดยให้คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งจัดการกับใบสั่งซื้อ คอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งจัดการเกี่ยวกับระบบสินค้าคงคลังและอีกเครื่องหนึ่งจัดการเกี่ยวกับการส่งของ เป็นต้น
ติดต่อสื่อสารสะดวก รวดเร็ว
เครือข่ายนับว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับเพื่อนร่วมงานที่สะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากวิธีหนึ่ง ถึงแม้ว่าเพื่อนร่วมงานอาจจะทำงานอยู่ห่างกันคนละสาขา ก็สามารถทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี โดยใช้เครือข่ายเป็นสื่อกลาง
ประเภทของเครือข่าย
เครือข่ายที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันในแวดวงธุรกิจและองค์ต่างๆ มีอยู่หลายประเภทด้วยกันซึ่งแต่ละประเภทก็มีข้อดี ข้อเสีย และความเหมาะสมแตกต่างกันไป
ขนาดของเครือข่าย
ขนาดของเครือข่ายมักจะถูกหยิบยกมาใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินว่าองค์กรนั้นๆ ควรจะใช้เครือข่ายประเภทใดอยู่เสมอ สำหรับเครือข่ายขนาดใหญ่และเล็กก็จะมีวิธีการรับ-ส่งข้อมูลแตกต่างกันไป เช่นเครือข่ายที่รองรับผู้ใช้กว่า 1,000 คน ก็จะมีอุปกรณ์พิเศษต่างๆ หลายตัวที่ไม่มีในเครือข่ายที่มีผู้ใช้เพียง 5 คน เป็นต้น
ค่าใช้จ่ายในการสร้างเครือข่าย
ขนาดและประเภทของเครือข่ายจะเป็นตัวกำหนดค่าใช้จ่าย ส่วนใหญ่แล้วเครือข่ายขนาดใหญ่จะต้องมีค่าใช้จ่ายในการสร้าง การเซตอัป และการดูแลมากกว่าเครือข่ายขนาดเล็ก เนื่องจากจะต้องซื้ออุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และสายเคเบิลพิเศษ และถ้าเป็นเครือข่ายที่มีความเร็วสูงก็ยิ่งต้องจ่ายเงินเพิ่มในการซื้ออุปกรณ์พิเศษเหล่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่ก็มีราคาค่อนข้างสูงทีเดียว
เครือข่ายเฉพาะที่
เครือข่ายเฉพาะที่ (Local Area Network LAN) เป็นเครือข่ายยอดนิยมที่มักพบเห็นกันในองค์กรธุรกิจโดยส่วนใหญ่ ลักษณะการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นวง LAN นั้นจะอยู่ในพื้นที่ใกล้ๆกัน เช่น อยู่ภายในตึกเดียวกัน เป็นต้น
เครือข่ายเมือง
เครือข่ายเมือง (Metropolitan Area Network MAN) เป็นกลุ่มของเครือข่าย LAN ที่นำมาเชื่อมต่อกันเป็นวงใหญ่ขึ้นภายในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง เช่น ใน เมืองเดียวกัน เป็นต้น
เครือข่ายบริเวณกว้าง
เครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Area Network-WAN) เป็นเครือข่ายที่ใหญ่ขึ้นไปอีกระดับ โดยเป็นการรวมเครือข่ายทั้ง LAN และ MAN มาเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย ดังนั้นเครือข่ายนี้จึงครอบคลุมพื้นที่กว้าง บางครั้งครอบคลุมไปทั่วประเทศหรือทั่วโลกอย่างเช่น อินเตอร์เน็ตก็จัดว่าเป็นเครือข่าย WAN ประเภทหนึ่ง แต่เป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของทั้งหมด สำหรับเครือข่าย WAN ของ บริษัทเอกชน เรามักเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “Enterprise Network”
ฮาร์ดแวร์ของเครือข่าย
การที่จะนำเอาคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายนั้น จะต้องมีฮาร์ดแวร์เฉพาะของเครือข่ายด้วย สำหรับองค์ประกอบของเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะมีอะไรบ้างนั้นเรามาดูกัน
คอมพิวเตอร์
แน่นอนที่สุด เครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็จะต้องมีคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบพื้นฐาน คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายนั้นไม่จำเป็นจะต้องเป็นรุ่นเดียวกัน หรือประเภทเดียวกัน คุณสามารถนำเอาคอมพิวเตอร์หลากรุ่นหลายประเภทมาเชื่อมต่อกันได้ ไม่ว่าจะเป็นพีซี แมคอินทอช หรือยูนิกซ์เวิร์กสเตชัน
ทรัพยากรอื่นๆ ในเครือข่าย
ทรัพยากรในเครือข่าย หมายถึงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์อื่นๆ ที่สามารถเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายได้ เช่น เครื่องพิมพ์ แฟกซ์ เทปแบ็กอัป หรืออุปกรณ์เก็บข้อมูลอื่นๆ เป็นต้น โดยเมื่ออุปกรณ์เหล่านี้เชื่อมต่อกับเครือข่ายแล้ว ผู้ใช้ในเครือข่ายก็สามารถใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้โดยเรียกผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้เอง เช่น ส่งเอกสารไปพิมพ์ที่เครื่องพิมพ์สำหรับเครือข่าย เป็นต้น
สายเคเบิล
สายเคเบิล คือสายสัญญาณที่ใช้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และทรัพยากรอื่นๆ ในเครือข่าย สายเคเบิลที่ใช้ในปัจจุบันมีอยู่หลายแบบด้วยกัน แต่ละแบบก็มีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล และราคาแตกต่างกันไป ส่วนการจะเลือกใช้สายเคเบิลแบบใดนั้น ขึ้นอยู่กับขนาดและประเภทของเครือข่ายที่ใช้
คอนเน็กเตอร์
คอนเน็กเตอร์ (Connector) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อเครือข่ายสองเครือข่ายเข้าด้วยกัน เมื่อเชื่อมเครือข่ายเข้าด้วยกันแล้ว คอมพิวเตอร์ทั้งสองเครือข่ายก็สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ เสมือนเป็นเครือข่ายเดียวกัน ตัวอย่าง คอนเน็กเตอร์ที่พบเห็นกันโดยทั่วไปก็คือ บริดจ์ (Bridge)
การ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย
สำหรับอุปกรณ์สุดท้ายที่จะกล่าวถึงนี้เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมระหว่างคอมพิวเตอร์กับสายเคเบิล อุปกรณ์นี้ก็คือ การ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย (Network Interface Card – NIC) การ์ดนี้ส่วนใหญ่จะติดตั้งภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเสียบลงบนเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ ส่วนพอร์ตในการต่อกับสายเคเบิลจะอยู่ทางด้านหลังเครื่องคอมพิวเตอร์
ซอฟต์แวร์สำหรับเครือข่าย
ซอฟต์แวร์สำหรับเครือข่าย หมายถึง ชุดของโปรแกรมต่างๆ ที่ใช้ในการเซตอัปอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ในเครือข่ายให้ใช้งานได้ และรวมถึงโปรแกรมใช้งานในเครือข่ายด้วย
ระบบปฏิบัติการเครือข่าย
ซอฟต์แวร์หลักที่จะทำให้เครือข่ายทำงานได้นั้นก็คือ ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operating System-NOS) ซอฟต์แวร์ตัวนี้จะทำหน้าที่บริหารจัดการระบบต่างๆ ในเครือข่ายทั้งหมด คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะมีคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องทำหน้าที่รันระบบปฏิบัติการเครือข่ายโดยเฉพาะ ซึ่งจะเรียกคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ว่าเซิร์ฟเวอร์ (Server)
ไดรเวอร์สำหรับเครือข่าย
ไดรเวอร์ตัวนี้ หมายถึงโปรแกรมที่เซตอัปการ์ดเชื่อมต่อเครือข่ายให้รู้จักและสามารถติดต่อสื่อสารกับเครือข่ายได้ ถ้าผู้ใช้ไม่ได้ติดตั้งโปรแกรมไดรเวอร์ คอมพิวเตอร์ก็ยังมองไม่เห็นเครือข่าย ถึงแม้ว่าฮาร์ดแวร์ต่างๆ จะเชื่อมต่อเรียบร้อยแล้วก็ตาม
ซอฟต์แวร์ใช้งาน
ซอฟต์แวร์ใช้งาน (Application Software) หมายถึง โปรแกรมต่างๆ ที่ใช้ทำงาน เช่น เวิร์ดโปรเซสเซอร์ สเปรดชีต หรือโปรแกรมวาดภาพ เป็นต้น โปรแกรม เหล่านี้อาจจะติดตั้งในคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้แต่ละเครื่อง หรืออาจจะเก็บไว้ที่คอมพิวเตอร์ส่วนกลางเพื่อให้ผู้ใช้เข้าไปเรียกใช้อีกทีหนึ่ง
ซอฟต์แวร์สำหรับเซิร์ฟเวอร์
ซิร์ฟเวอร์ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่จัดการงานเฉพาะด้านของเครือข่าย เพื่อให้บริการกับคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายที่เรียกมา โดยจะมีซอฟต์แวร์สำหรับเซิร์ฟเวอร์ทำงานอยู่ เช่น ซอฟต์แวร์สำหรับเมล์เซิร์ฟเวอร์ก็จะทำหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการอีเมล์ในเครือข่ายทั้งหมด เป็นต้น การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ชนิดนี้จะต้องให้ทำงานร่วมกับระบบปฏิบัติการเครือข่ายได้ด้วย
ซอฟต์แวร์สำหรับบริหารเครือข่าย
เครือข่ายขนาดกลางที่มีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกันมากกว่า 20 เครื่อง มักจะรันซอฟต์แวร์สำหรับบริหารเครือข่ายด้วย เพราะซอฟต์แวร์ชนิดนี้จะช่วยให้เจ้าหน้าที่ดูแลระบบสามารถบริหารจัดการเครือข่ายทั้งหมดได้ง่าย รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
เครือข่ายจำนวนมากสามารถที่จะใส่คุณสมบัติอื่นเพิ่มเติมได้ ซึ่งบางบริษัทก็อาจจะต้องใช้คุณสมบัติเหล่านี้ในการทำงาน ตัวอย่างคุณสมบัติเพิ่มเติมในเครือข่าย เช่น ชุดซอฟต์แวร์สำหรับบริหารเครือข่าย เครื่องแฟกซ์เซิร์ฟเวอร์ และซีดีรอมเซิร์ฟเวอร์ เป็นต้น
เครือข่ายบริเวณกว้าง
เครือข่ายบริเวณกว้าง (WAN) เป็นตัวอย่างเครือข่ายผสมที่พบเห็นกันมากที่สุด เครือข่ายแบบนี้จะเชื่อมต่อเครือข่ายเล็ก-ใหญ่หลากหลายเผ่าพันธุ์เข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเดียว ซึ่งเครือข่ายที่ถูกเชื่อมต่ออาจจะอยู่ห่างกันคนละจังหวัด หรืออาจจะอยู่คนละประเทศก็เป็นได้
ตัวอย่างเช่น บริษัทที่มีสาขาแยกย่อยตามจังหวัดต่างๆ สาขาหนึ่งอาจจะใช้เครือข่ายแบบดาว อีกสาขาอาจจะใช้เครือข่ายแบบบัส การเชื่อมต่อเครือข่ายเข้าด้วยกันอาจจะใช้สื่อกลางเป็นไมโครเวฟ หรือดาวเทียม เป็นต้น
การเข้าถึงระยะไกล
คุณสมบัติเด่นอย่างหนึ่งของเครือข่ายแบบผสมก็คือ ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายจากระยะไกล เช่น อยู่ทีบ้าน หรืออยู่ภาคสนามได้
ในการเชื่อมต่อก็จะใช้คอมพิวเตอร์สั่งโมเด็มหมุนสัญญาณให้วิ่งผ่านสายโทรศัพท์ไปเชื่อมต่อกับเครือข่าย หลังจากการเชื่อมต่อผู้ใช้ก็สามารถเข้าไปเรียกใช้ข้อมูลได้ เสมือนกับว่ากำลังใช้เครือข่ายที่บริษัทอยู่
การบริหารเครือข่าย
เนื่องจากเครือข่ายแบบผสมเป็นการผสมผสานเครือข่ายหลายแบบเข้าด้วยกัน ซึ่งแต่ละเครือข่ายก็มีรายละเอียดทางเทคนิคแตกต่างกันไป ดังนั้นการบริหารเครือข่ายก็อาจจะยากกว่าเครือข่ายแบบอื่นๆ
ด้วยเหตุนี้บริษัทที่มีเครือข่ายผสมขนาดใหญ่ของตัวเอง ก็มักจะตั้งแผนกที่ทำหน้าที่ดูแลและบริหารเครือข่ายนี้โดยเฉพาะ
ค่าใช้จ่าย
โดยปกติเครือข่ายแบบผสมจะมีราคาแพงกว่าเครือข่ายแบบอื่นๆ เพราะเครือข่ายแบบนี้เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ และมีความซับซ้อนสูง นอกจากนี้ยังต้องมีการลงทุนเกี่ยวกับระบบรักษาความปลอดภัยมากกว่าเครือข่ายอื่นอีกด้วย เนื่องจากเป็นการเชื่อมต่อระยะไกล
สำหรับเครือข่ายที่มีการแบ็กอับก็อาจจะต้องเป็นเครือข่ายแบบผสมด้วย เช่น บริษัทที่มีการเชื่อมต่อระหว่างสำนักงานด้วยดาวเทียม อาจต้องเชื่อมต่อด้วยสายเคเบิลอีกทางหนึ่งด้วย เพื่อเป็นการป้องกันการสื่อสารขัดข้องที่อาจจะเกิดขึ้น
การจัดวางเครือข่าย
การจัดวางเครือข่ายแบบรวมศูนย์
การจัดวางเครือข่ายแบบรวมศูนย์ (Centralized Network Layout) เป็นการวางทรัพยากรสำคัญๆ เช่น ไฟล์เซิร์ฟเวอร์ และดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์เอาไว้ในบริเวณเดียวกัน
โครงสร้างเครือข่ายแบบบัส แบบวงแหวน แบบดาว และแบบผสมสามารถจัดวางตำแหน่งเครือข่ายแบบรวมศูนย์ได้
การบริหารเครือข่าย
การบริหารเครือข่ายที่มีการจัดวางเครือข่ายแบบรวมศูนย์ทำได้ง่ายกว่าการจัดวางรูปแบบอื่นๆ ข้อดีอีกอย่างหนึ่งในการจัดวางแบบนี้ก็คือมีความปลอดภัยสูง เพราะสามารถจัดทรัพยากรสำคัญ เช่น ไฟล์เซิร์ฟเวอร์ และดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ไว้ในห้องหรือบริเวณที่สามารถปิดล็อคได้
การจัดวางทรัพยากรในห้องที่ปิดล็อค จะช่วยให้ทรัพยากรปลอดภัยจากขโมยหรือไฟไหม้ได้
การแบ็กอับ
งานหลักที่สำคัญอย่างยิ่งของผู้บริหารเครือข่ายก็คือการแบ็กอับไฟล์ข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ เพราะการแบ็กอับจะช่วยให้คุณสามารถดึงข้อมูลกลับมาใช้ได้อีกครั้ง ในกรณีที่ข้อมูลในเครือข่ายเกิดเสียหายหรือสูญหายไปด้วยสาเหตุต่างๆ
การแบ็กอับที่เก็บไฟล์รวมศูนย์ไว้ที่เดียว จะทำได้ง่ายกว่าการแบ็กอับไฟล์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้แต่ละคน
ความเร็ว
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เกือบทุกชิ้นที่ออกแบบมาสำหรับงานเครือข่าย จะมีความเร็วและมีเสถียรภาพการทำงานที่สูงกว่าอุปกรณ์ปกติที่ใช้กัน เช่นฮาร์ดดิสก์ที่ใช้ในไฟล์เซิร์ฟเวอร์สามารถอ่าน-เขียน ข้อมูลได้เร็วกว่าฮาร์ดดิสก์ที่ใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป
เสถียรภาพของระบบ
เครือข่ายเป็นเรื่องของผู้ใช้จำนวนมาก ถ้าเครือข่ายเกิดเสียขึ้นมา งานของทุกคนก็จะสะดุดทันที ดังนั้นเสถียรภาพการทำงานของเครือข่ายจึงเป็น


เรื่องที่สำคัญ
ผู้บริหารเครือข่ายบางแห่งถึงกับสร้างเซิร์ฟเวอร์ที่เรียกว่า เซิร์ฟเวอร์กระจก (Mirror Server) ให้ทำงานแบ็กอับกับเซิร์ฟเวอร์หลัก ถ้าเซิร์ฟเวอร์หลักเกิดเสียหาย เซิร์ฟเวอร์กระจกนี้ก็จะทำงานแทนทันที
ค่าใช้จ่าย
ถึงแม้ว่าค่าใช้จ่ายในการสร้างเครือข่ายแบบรวมศูนย์นี้จะค่อนข้างสูง แต่ถ้ามองปริมาณการให้บริการคอมพิวเตอร์กับผู้ใช้จำนวนมากก็ถือว่าเป็นวิธีที่ไม่แพงนัก
การจัดวางเครือข่าย
การจัดวางเครือข่ายแบบกระจาย
การจัดวางเครือข่ายแบบกระจาย (Distributed Network Layout) เป็นการจัดวางทรัพยากรตามหน้าที่ไว้ตลอดเครือข่าย เช่น ในละแผนกก็จะมีไฟล์เซิร์ฟเวอร์และพรินต์เซิร์ฟเวอร์เป็นของแผนกเอง เป็นต้น
การจัดวางเครือข่ายแบบกระจายสามารถใช้ได้กับโครงสร้างเครือข่ายทุกประเภท

สมรรถนะอันทรงพลัง
เครือข่ายที่จัดวางแบบกระจายสามารถใช้ในงานหนักๆ ได้เป็นอย่างดี โดยการกระจายงานไปให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายช่วยประมวลผล เช่น เครือข่ายงานออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีความซับซ้อนสูง จะใช้คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งในการคำนวณ ส่วนอีกเครื่องหนึ่งใช้ในการประมวลผลข้อมูล และอีกเครื่องหนึ่งใช้ในการพิมพ์ข้อมูล เป็นต้น
การบริหารเครือข่าย
การบริหารเครือข่ายที่จัดวางแบบกระจายค่อนข้างยากกว่าการบริหารเครือข่ายที่จัดวางแบบรวมศูนย์ เพราะทรัพยากรจะวางกระจายไปยังส่วนต่างๆของเครือข่ายด้วยเหตุนี้ผู้ใช้เครือข่ายแบบนี้ควรศึกษาการใช้ระบบปฏิบัติการเครือข่ายให้มากขึ้น เพื่อช่วยดูแลและสามารถใช้งานเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การแบ็กอับ
การแบ็กอับข้อมูลในเครือข่ายที่จัดวางแบบกระจายค่อนข้างลำบากกว่าเครือข่ายที่จัดวางแบบศูนย์รวมเพราะจะต้องแบ็กอับไฟล์แต่ละเครื่องที่เชื่อมต่อกับเครือข่าย ด้วยเหตุนี้ผู้ใช้จึงมักจะมีอุปกรณ์แบ็กอับเป็นของตัวเอง เช่น อุปกรณ์แบ็กอับแบบพกพา ซึ่งผู้ใช้คนอื่นสามารถหยิบยืมไปใช้ได้ เป็นต้น
เสถียรภาพของระบบ
เสถียรภาพของเครือข่ายที่จัดวางแบบกระจายที่ค่อนข้างสูง ถึงแม้ว่าจะมีคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเกิดเสียขึ้นมา มันก็จะกระทบกับผู้ใช้คนอื่นบนเครือข่ายเพียงส่วนน้อยเท่านั้น
ค่าใช้จ่าย
การจัดวางเครือข่ายแบบกระจายนี้จะมีต้นทุนในการจัดวางต่ำกว่าการจัดวางเครือข่ายแบบรวมศูนย์ เพราะว่าไม่จำเป็นต้องใช้เซิร์ฟเวอร์ราคาแพง แต่คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในเครือข่ายที่จัดวางแบบกระจายอาจจะต้องใช้เครื่องที่มีสมรรถนะสูงกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วไป


สรุป
ในการใช้งานข้อมูล และสารสนเทศร่วมกัน จะต้องทำการส่งผ่านข้อมูลสารสนเทศ ผ่านทางเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยการใช้อุปกรณ์สายส่งข้อมูลสำหรับการสื่อสารข้อมูลประเภท ต่าง ๆ นั้น ในหน่วยงานและองค์การโดยทั่วไปในปัจจุบันมีความต้องการใช้งานระบบเครือข่ายและการสื่อสารข้อมูลเป็นอย่างสูง เพราะการสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มีความจำเป็นกับงานหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา เช่น การเรียนการสอน การค้นหาข้อมูล เป็นต้น ส่วนด้านการทำธุรกิจการค้า เช่น การทำธุรกรรมประเภทต่าง ๆ ผ่านทางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก่อให้เกิดความสะดวกมากในปัจจุบัน และงานด้านอุตสาหกรรม ก็มีการใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ช่วยในการควบคุมการทำงานของเครื่องจักรกลต่าง ๆ หรือการจัดทำระบบคลังสินค้าออนไลน์ เป็นต้น งานที่กล่าวมาข้างต้นล้วนแล้วแต่มีความต้องการใช้งานระบบเครือข่ายทั้งสิ้น ทำให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน มีการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ในสำนักงานให้เป็นระบบเครือข่าย ทั้งเครือข่ายระยะใกล้ และเครือข่ายระยะไกล เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารข้อมูลกันได้สะดวกมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นผลประโยชน์ต่อการดำเนินกิจกรรมใด ๆ ที่มีอยู่ในหน่วยงานนั้น ๆ ด้วย




Technology ที่อยากแนะนำคือ E-Commerce การขายของผ่านทางเว็บไซต์
http://www.ecommerce.or.th/